วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนา

วันมาฆบูชา


ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓

"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป 

การละเล่นของไทย

การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง



อุปกรณ์และวิธีการเล่น

อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวนการเล่น
วิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุดไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทางจมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อเช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกมนั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดยใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)

โอกาสหรือเวลาที่เล่น

เป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด

ประเพณีไทย

ประเพณีตักบาตรเทโว


ความสำคัญ


คำว่า เทโว ย่อมาจาก เทโวโรหณะ หมายถึง การหยั่งลงมาจากเทวโลก ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากเทวโลกตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้ประกาศพระศาสนาตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศอินเดียมาถึงตอนล่าง และได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นปิตุภูมิ ได้ทรงแสดงเทศนาโปรดพระบิดา พระมารดา พระนางพิมพาและพระราหุล ตลอดจนพระประยูรญาติทั้งหลาย แล้วได้เสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดุสิต เพื่อทรงแสดงธรรมเทศนาพระอภิธรรมแด่พระพุทธมารดาและปวงเทวดาทั้งหลายตลอดพรรษา จึงเสด็จมายังมนุษย์โลกในวันที่เสด็จกลับมานั้นมีประชาชนไปถวายการต้อนรับพระองค์เป็นจำนวนมาก ประชาชนเหล่านั้นต่างปิติยินดีด้วยการนำจตุปัจจัยใส่บาตร
ประเพณีตักบาตรเทโวของสุโขทัย มีการจัดงานประเพณีตักบาตรเทโวหลายแห่งเท่าที่ปรากฏและมีชื่อเสียงคือ งานตักบาตรเทโวของวัดราชธานี อำเภอเมืองสุโขทัย และวัดน้ำขุม อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย วัดราชธานีมีการจัดงานตักบาตรเทโวมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๔๐ ปี มีการทำบุญตักบาตร ใส่บาตรข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยน เพราะความเชื่อที่ว่าพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากเทวโลกมีผู้มาต้อนรับมากมายทำให้ไม่สามารถเข้าใกล้พระพุทธองค์ได้ ต้องโยนอาหารลงในบาตร มีกีฬาทางน้ำคือการแข่งเรือในแม่น้ำยม โดยเชิญเรือจากหลายแหล่งมาร่วมแข่งขันบางปีได้เชิญเรือจากต่างจังหวัดมาร่วมแข่งด้วย
สำหรับการงานประเพณีตักบาตรเทโวของวัดน้ำขุม ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีครูย่อม จันทร์สุข เป็นผู้นำและร่วมกับศรัทธาชาวบ้านจัดทำ บุษบก ศีรษะพระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร ยมบาล และหัวสัตว์นรกต่าง ๆ เช่น เปรต สุนัข ลิง ฯลฯ ตลอดจนเครื่อง แต่งกายนางฟ้า เทวดา เป็นต้น
การจัดทำอุปกรณ์จัดงานตักบาตรเทโวในวัดน้ำขุมนั้น เป็นงานศิลปะที่เกิดจาภูมิปัญญาชาวบ้านในส่วนท้องถิ่นล้วน ๆ เพราะชาวบ้านได้ช่วยกันประดิษฐ์ไปตามจินตนาการ แม้ในปัจจุบันรูปแบบก็ยังจัดในรูปแบบเดิม แต่มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

พิธีกรรม

ก่อนจะถึงวันงานคณะกรรมการจะได้เชิญชาวบ้านส่งบุตรหลานมาเป็นเทวดา นางฟ้า และผู้เข้าร่วมขบวนแห่ ปัจจุบันขบวนแห่งานตักบาตรเทโวจะเริ่มที่หน้าวัดหนองแหนซึ่งอยู่ห่างจากที่จัดงานประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ ในขบวนจะประกอบด้วย กลองยาว บุษบกสำหรับประดิษฐาน พระพุทธรูป พระอินทร์ พระพรหม เทพบุตร นางฟ้า ฤาษี ขอทานและสัตว์นรกจำนวนมาก เมื่อเริ่มขบวนชาวบ้านจะพากันมาคอยร่วมทำบุญตักบาตร ซึ่งเป็นข้าวสารอาหารแห้ง การเคลื่อนขบวนจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ให้พระภิกษุรับบาตร

ประเพณีไทย

ประเพณีสงกรานต์


ช่วงเวลา

ตามประเพณีเดิมของไทย วันตรุษกับวันสงกรานต์แยกเป็น ๒ วัน คือ วันสิ้นปีทางจันทรคติ ได้แก่ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันตรุษ ส่วนวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ คือ วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษ มักตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสงกรานต์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงรวมวันขึ้นปีใหม่มาไว้ในวันที่ ๑ เมษายน เรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
คำว่า ตรุษ แปลว่า ตัดหรือขาด คือ ตัดปี ขาดปี หมายถึง วันสิ้นปี ตรุษเป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยความสวัสดีในรอบปีหนึ่ง ๆ เรียกว่า ส่งปีเก่า
สงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้นการย้ายที่ เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายน ทุกปี แต่วันสงกรานต์ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก

ความสำคัญ

เป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของคนไทย ซึ่งยึดถือสืบเนื่องมาแต่โบราณ เป็นระยะเวลาเข้าฤดูร้อนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว จึงว่างจากการงานประจำ มีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลหรือเมืองหนึ่ง ๆ แม้ปัจจุบันทางราชการประกาศวันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ประเพณีการทำบุญและการรื่นเริงในวันตรุษและสงกรานต์ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
ตรุษสงกรานต์ถือเป็นนักขัตฤกษ์ที่ขึ้นหน้าขึ้นตามาแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อนจะถึงวันสงกรานต์จะมีการเตรียมเครื่องแต่งตัวประกวดประขันกัน

พิธีกรรม

วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าเป็นวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ จึงต้องเตรียมงานเป็นการใหญ่จนมีคนพูดกัน "ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่" สิ่งที่ตระเตรียมเป็นพิเศษ คือ
๑. เครื่องนุ่งห่มเพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย
๒. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษ ๒ อย่าง คือ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวนหรือกะละแมในวันสงกรานต์ ซึ่งสิ่งของ ๒ อย่างนี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการทำบุญตรุษสงกรานต์เหมือนกับการทำกระยาสารท เพราะนอกจากทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้วยังแลกเปลี่ยนแจกจ่ายกันในหมู่บ้านใกล้เคียง

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

  ความหมายของคุณธรรม
          พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช  2525  ให้ความหมายของคุณธรรมไว้ว่า  เป็นสภาพคุณงามความดี  (ราชบัณฑิตยสถาน.  2525 : 187)
          คาร์เตอร์ วี. กู๊ด  (Carter V. Good.  1973 : 641) ให้ความหมายคุณธรรม ไว้ว่า คุณธรรมคือ คุณลักษณะที่ดีงาม หรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติจนเป็นนิสัย และการที่บุคคลได้กระทำตามความคิดและมาตรฐานของสังคมในทางความประพฤติและจริยธรรม
 ความสำคัญของคุณธรรม
          คุณธรรมเป็นเสมือนหลักการสำคัญที่ให้ไว้สำหรับบุคคลหรือสังคมได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  จะช่วยให้บุคคลปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น  มีความสำเร็จในงานที่ทำ  เป็นคนดีของครอบครัว  สังคม และประเทศชาติ  สำหรับครูอาจารย์กับคุณธรรมนั้นจะต้องเป็นของคู่กัน  หากครูอาจารย์ขาดคุณธรรมเมื่อใดก็เหมือนกับนักบวชที่ไร้ศีล  หลักธรรมสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ และของครู อาจารย์อีกข้อหนึ่งก็คือ
หลักสังคหวัตถุ 4  
                  หลักพุทธธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรื่อง สังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สอนให้คนมีความเอื้ออาทรต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูล แบ่งปัน และไว้เนื้อเชื่อใจกัน และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็น วัฒนธรรมองค์กรที่ดี “สังคหะ” แปลว่า การสงเคราะห์กัน สังคหวัตถุ 4 ก็คือ สิ่งที่เป็นเครื่องสงเคราะห์และยึดเหนี่ยวน้ำใจ ซึ่งกันและกัน 4 ประการ  คือ
          1. ทาน  คือ การให้ การบริจาค หรือการแบ่งปันวัตถุสิ่งของ รวมถึงอุปกรณ์ในการทำงานหรือเอกสารที่ใช้ในการทำงาน เช่น หากเพื่อนร่วมงานขาดอุปกรณ์สิ่งของ ก็นำมาแบ่งปันกันใช้ การเริ่มต้นด้วยการแบ่งปันวัตถุสิ่งของ ภายนอก จะช่วยสร้างนิสัยในให้ บุคลากรในหน่วยงานมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการให้และรับ เพราะนอกเหนือจากการแบ่งปันเรื่องของความรู้ ประสบการณ์ อันเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน แล้ว การแบ่งปันเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้วงจรของความรู้มีการขับเคลื่อน โดยเป็นการแบ่งปันความรู้ที่เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งให้กับผู้เป็นศิษย์ด้วย